การวางแผนความเสี่ยง

มีบทความดีๆ มาฝาก
การวางแผนความเสี่ยงทางการเงิน 
รู้เท่าทัน ประกันชีวิต ไม่ใช่เพียงแค่มีก็พอ

             บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่านให้เลือกและบริหารความเสี่ยง ทางด้านการเงินได้อย่างถูกต้องและ ตรงตามความตรงการ ก่อเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด บทความนี้จะกล่าวถึงในการเลือกซื้อประกันชีวิตอย่างไรจึงจะก่อเกิด ประโยชน์สูงสุด แล้ววันนี้สิ่งที่เรามีอยู่ครอบคุมแล้วหรือยัง
             บางคนก็กล้วที่จะมีประกันชีวิตกลัวที่จะเจอตัวแทนประกันชีวิตเนื่องจากภาพ เก่าๆ ของตัวแทนติดลบมานานแต่จริงแล้วหากเรารู้และศึกษาในส่วนนี้อย่างแท้จริง แล้วจะรู้ว่าเราไม่ใช่แค่มีประกันแต่เราต้องมีประกันที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ได้จริงและคุ้มค่า เรามาทำความรู้จักกันก่อน

ประกันชีวิตคืออะไร 

1.โดยนัยของกฎหมาย 
                 กรมธรรม์ประกันชีวิต คือ สัญญาต่างตอบแทนที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้เอาประกันมีหน้าที่ต้องจ่ายเบี้ยประกันให้กับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า บริษัทประกันชีวิต โดยบริษัทประกันชีวิตมีหน้าที่ต้องจ่ายผลตอบแทน เรียกว่า ทุนประกันชีวิต ให้แก่ผู้เอาประกันหรือผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตหรืออยู่ครบตามสัญญาของกรมธรรม์ 

2.โดยนัยแห่งความหมายและคุณค่าของกรมธรรม์
                 ประกันชีวิต คือ เงินสดสำรองจำนวนหนึ่ง ซึ่งเราจัดเตรียมไว้ล่วงหน้าเพื่อรองรับเหตุการณ์ร้ายแรงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับเราในอนาคต โดยเราไม่สามารถทราบได้ว่าเหตุการณ์นั้น ๆ จะเกิดขึ้นเมื่อใดและรุนแรงมากน้อยเพียงใด 

ประกันชีวิตแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
 

1.) ประเภทสามัญ (Ordinary Life Insurance) คือ การประกันชีวิตที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัยค่อนข้างสูง เหมาะสำหรับผู้มีรายได้ปานกลางหรือสูง โดยทั่วไปกำหนดชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายปี ราย 6 เดือน หรือราย 3 เดือน การพิจารณารับประกันชีวิตมีทั้งแบบตรวจสุขภาพและไม่ต้องตรวจสุขภาพ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินเอาประกันภัย อายุ และความเสี่ยงต่าง ๆ เป็นสำคัญ 

2.) ประเภทอุตสาหกรรม (Industrial Life Insurance) คือ การประกันชีวิตที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัยค่อน    ข้างต่ำ จึงไม่มีการตรวจสุขภาพ การพิจารณารับประกันชีวิตอาศัยข้อมูลจากคำแถลงในใบคำขอเอาประกันภัย โดยทั่วไปกำหนดชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายเดือนอาจมีเงื่อนไขกำหนดระยะเวลารอ คอยก็ได้ ระยะเวลารอคอย (Waiting Period) คือระยะเวลาที่กำหนดไว้เพื่อพิสูจน์สุขภาพของผู้เอาประกันภัย หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาดังกล่าว บริษัทประกันชีวิตไม่ต้องจ่ายเงินเอาประกันภัย โดยทั่วไปกำหนดไว้ 180 วัน
3.) ประเภทกลุ่ม (Group Life Insurance) คือ การรับประกันชีวิตบุคคลหลายคนภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดียว โดยพิจารณาถึงความเสี่ยงภัยของบุคคลในกลุ่มทั้งหมดด้วยอัตราเฉลี่ย ไม่ว่าจะเป็นอายุ เพศ หน้าที่การงาน หรือจำนวนเงินเอาประกันภัยและใช้เบี้ยประกันภัยอัตราเดียวกับบุคคลทุกคนใน กลุ่มนั้น ๆ การประกันภัยประเภทนี้อัตราดอกเบี้ยประกันภัยจะถูกกว่าการประกันภัยประเภท อื่น ๆ เหมาะสำหรับพนักงาน ในบริษัทต่าง ๆ


ประกันชีวิตแบ่งออกได้เป็น 4 แบบ ได้แก่
 
1 แบบชั่วระยะเวลา (Term Insurance) คือ การประกันชีวิตที่บริษัทตกลงว่าจะจ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ให้แก่ผู้รับ ประโยชน์ ถ้าหากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กำหนด เช่น 1 ปี 5 ปี 10 ปี หรือ 20 ปี สัญญาประกันชีวิตแบบนี้มีลักษณะเป็นการให้ความคุ้มครองการเสี่ยงภัยอันเกิด จากการเสียชีวิตแต่เพียงอย่างเดียว ไม่มีการสะสมทรัพย์รวมอยู่ด้วย จึงมีลักษณะเช่นเดียวกับสัญญาประกันอัคคีภัย เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้วจึงไม่มีมูลค่าใด ๆ คืนให้แก่ผู้เอาประกัน
 

2 แบบตลอดชีพ (Whole life Insurance) คือ การประกันชีวิตที่บริษัทตกลงว่าจะจ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ให้แก่ผู้รับ ประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตโดยไม่คำนึงว่าจะเสียชีวิตเมื่อใด แต่ถ้าหากผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่จนถึงอายุ 99 ปี บริษัทประกันชีวิตก็จะจ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ให้แก่ผู้เอาประกันภัย
 

3 แบบสะสมทรัพย์ (Endowment Insurance) คือ การประกันชีวิตที่บริษัทตกลงว่าจะจ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ให้แก่ผู้รับ ประโยชน์ ถ้าหากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือจ่ายเงินให้แก่ผู้เอาประกันภัยถ้าหากผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่ในวัน ที่สัญญาครบกำหนด
 

4 แบบเงินได้ประจำ (Annuities Insurance) คือ การประกันชีวิตที่บริษัทตกลงว่าจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งเป็นประจำให้แก่ผู้เอา ประกันภัย เมื่อผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่ในวันที่กำหนดไว้ในสัญญา โดยทั่วไปเงินได้ประจำจะจ่ายเป็นปีทุก ๆ ปี จนครบตามเงื่อนไขของสัญญา สัญญาประกันชีวิตแบบนี้เหมาะกับผู้เอาประกันภัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสะสม ทรัพย์ไว้เป็นค่าใช้จ่ายหลังจากที่เกษียณอายุการทำงานแล้ว

            มาถึงตรงนี้เรามีความรู้ในเรื่องของประกันชีวิตมาก็พอควรแล้วคราวนี้จะเปิด แบบประกันให้ดูเป็นตัวอย่างคราวๆว่าใครมีประกันชีวิตแบบไหน แล้วควรจะเลือกแบบไหนให้เหมาะสม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น