รู้ทัน ประกันแบบออมทรัพย์

   ตัวอย่าง  การเลือกแบบประกันออมทรัพย์ ตอนรู้เท่าทันแบบประกัน
 



             ยกตัวอย่าง   สรุปแบบประกันข้างต้นเป็นแบบประกันออมทรัพย์ชนิดมีเงินคืน ปี ที่ 5 6 10 15 ตามลำดับดังนี้

1. สิ้นปีที่ 5     รับเงินคืน  10%     ของทุนประกัน   10,000       บาท
2. สิ้นปีที่ 6     รับเงินคืน  10%     ของทุนประกัน   10,000       บาท
3. สิ้นปีที่ 10   รับเงินคืน  30%     ของทุนประกัน   30,000       บาท
4. สิ้นปีที่ 15   รับเงินคืน  50%     ของทุนประกัน   50,000       บาท
5. สิ้นปีที่ 20   รับเงินคืน  200 %  ของทุนประกัน   200,000     บาท

       ผมทำรายละเอียดมาให้ดูดังนี้จะเห็นว่าแบบประกันมีเงินคืนระหว่างทางที่ค่อนข้างสูงเลยที่เดียวแต่ให้มองอีกมุมน่ะครับ

       * เรา จ่ายเบียประกันปีละ  12,500 x 20 ปี   =  250,000  บาท แต่ในขณะที่ทุนประกัน  100,000 บาท บางแบบก็จะเป็นแบบทุนประกันเพิ่ม หรือจ่ายตามมูลค่าเวียนคืนเงินสดแล้วแต่ส่วนใดมากกว่า บางแบบจ่ายตามทุนประกันอย่างแบบนี้หากกรณีที่คิดว่าเสียชีวิต ณปีที่ 18

                เบี้ยที่จ่ายไปแล้ว =  เบี้ยที่จ่าย / ปี  x  จำนวณปีที่จ่ายแล้ว  = เบี้ยที่จ่าย ณ สิ้นปีนั้นๆ

                                            =  12,500 x 18  =  225,000 บาท

            * คำนวณผลประโยชน์หากเสียชีวิต ณ สิ้นปี ที่ 18

                                            =  เบี้ยทั้งหมดที่จ่ายไป - ทุนประกัน - เงินคืนตามสัญญาที่รับมาแล้ว

                                            =  225,000 - 100,000 - 100,000  =    - 25,000 
            
.      แสดงว่ากรรมธรรม์ ฉบับนี้หากเสียชีวิตในปีที่ 18 จะขาดทุน 25,000 แต่หาก อยู่ครบสัญญาจะได้กำไร  50,000 ในระยะเวลา 20 ปี 





       ยกตัวอย่างที่ 2    สรุป แบบประกันอีกแบบเพื่อเปรียบเทียบเป็นแบบสะสมทรัพย์ ชนิด มีเงินปันผลโดยไม่มีเงินคืนระหว่างทางแต่จะปันผล ณ สิ้นปีที่20 ครบสัญญา แต่แบบนี้จะต่างกับแบบประกันในตัวอย่างที่ 1 คือ จ่ายเบี้ยประกันแค่ 15 ปี แต่คุ้มครอง 20 ปี เหมือนกัน อีก 5 ปีไม่ต้องจ่ายเบี้ยประกัน

            * คราวนี้เราลองมาคำนวณแบบประกันนี้

1. ทุนประกันใหม่   238,000  บาท จ่ายจนครบก็ไม่เกินทุน เสียชีวิตไม่ขาดทุน อยู่ครบสัญญาก็ไม่ขาดทุน
2. จ่ายเบี้ยประกันปีละ    12,512 บาท/ปี
3. ชำระเบี้ยประกันทั้งหมด  12,512 x 15  =  187,680  บาท
4. ส่วนต่างเบี้ยประกันที่ไม่ต้องจ่ายระหว่างแบบแรก   250,000 - 187680  = 62,320  บาท
5. เงินปันผลโดยประมาณการ 10% ของทุนประกัน   = 23,800

 คำนวณ แบบประกัน

            * ชำระเบี้ยประกันทั้งหมด  =  จ่ายเบี้ยประกันปีละ   x  จำนวณปีที่จ่ายทั้งหมด
                         
                                                      =   187,680
            
           * ส่วนต่างเบี้ยประกันที่ไม่ต้องจ่ายระหว่างแบบแรก  
                  =  แบบตัวอย่าง 1 ยอดจ่ายเบี้ยประกันทั้งหมด -  แบบตัวอย่าง 1 ยอดจ่ายเบี้ยประกันทั้งหมด

                  =  250,000 - 187,680  = 62,320  บาท

           * คำนวณเงินปันผลโดยประมาณการ  10 % ของทุนประกัน = 238,000 x 10%  =  23,800


           * คำนวณผลกำไรจากการทำประกันแบบที่ 2  
                            
                      = ( ยอดจ่ายทั้งหมด + ปันผลประมาณการ 10 % + ส่วนต่างที่ไม่ต้องจ่าย ) -  ทุนประกัน 
 
                     =  ( 187,680 + 23,800 + 62,320 )  - (238,000)   =   136,440   กำไรบาท

  
* สุดท้ายแล้วผมขอจบบทความฉบับนี้เพียงเท่านี้ก่อน คราวหน้าจะนำเสนอบทความในส่วนประกันสุขภาพบ้างแล้วกันน่ะครับหวังว่าคงเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยน่ะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น